วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกของวันหนึ่งกับหนังสือและหนังเรื่องหนึ่ง : จาก "กล่องไปรษณีย์สีแดง" สู่ "เพื่อนสนิท" สู่เรื่องราวบางเรื่องและคำถามบางคำถามที่ไม่มีคำตอบ


1
"ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ในความคุ้นเคยกันอยู่ มันแฝงอะไรบางอย่าง ...."

ทันทีที่หนังสือ "กล่องไปรษณีย์สีแดง" ถูกปิดลง การผ่านพ้นไปของช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งนำมาซึ่งการอาลัยอาวรณ์ต่อพื้นที่และเวลาที่เพิ่งผ่านไป และทิ้งเพียงร่องรอยบางอย่างไว้ในความทรงจำ มันเป็นหนังสือที่พิมพ์มาตั้งแต่ราวปี 2543 แต่ผมเพิ่งได้อ่านมันในปี 2557 ในวัย 22 ปี

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lucy ในบันทึกของผู้ชมคนหนึ่ง



1

ช่วงที่ผมเรียนปรัชญาศาสนา ผมเคยได้อ่านความคิดของนักปรัชญาคนหนึ่งที่ชื่อ Eugene Thomas Long ซึ่งชี้ให้เห็นว่า “ประสบการณ์ของมนุษย์มีทั้งรากเหง้าที่ปฏิสัมพันธ์กับจารีตหรือประวัติศาสตร์ที่มีมาก่ออนหนานั้น ในขณะเดียวกันประสบการณ์ของมนุษย์ก็มีลักษณะปลายเปิดอยู่เสมอ โดยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่างอัตภาวะกับวัตถุภาวะ แต่เป็นภาวะการสื่อสารระหว่างกัน ความเป็นอัตภาวะเกิดขึ้นในกระบวนการปฏิสัมพันธ์กับโลก มิใช่แยกแยะจากโลกโดยเด็ดขาด” (สุวรรณา สถาอานันท์. ศรัทธากับปัญญา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ฯ, 2550 หน้า 9)

ความคิดของ Eugene T. Long สำคัญอย่างไร ผมคิดว่าความคิดของ Long ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีแก่นสารที่แฝงฝังอยู่ในภาวะความสัมพันธ์กับโลก (Being-in-the-world) ประสบการณ์ของมนุษย์แสดงให้เห็นถึงการก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งในแง่ของกาลเวลา ความสัมพันธ์กับโลกและบุคคลอื่น ศักยภาพที่จะรู้สึกสำนึกรับผิดชอบรวมทั้งการรู้สึกขอบคุณ ทั้งหมดคือการชี้ให้เห็นถึงมิติเชิงอุตตรภาวะ (อาจไม่ใช่ในแง่การสัมพันธ์กับพระเจ้า) หรืออีกนัยหนึ่ง Long ชี้ให้เห็นว่าอุตตรภาวะหรือ Transcendence มิใช่สิ่งที่แปลกแยกจากโลกประจักษ์ธรรมดา

ภายหลังความคิดแบบปฏิฐานนิยมก้าวเข้ามามีอิทธิพลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ข้อความเชิงอภิปรัชญากลายเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย เพราะไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นว่าจริงหรือเท็จได้ สำหรับผมแล้ว งานของ Long เป็นการมองอุตตรภาวะในมุมมองที่น่าสนใจ โดยมิได้มองมันเป็นเพียงแค่ในกรอบของอภิปรัชญาหรือสิ่งที่ไร้ความหมาย หากแต่นำมันกลับมาสนทนาร่วมกันในกรอบที่มิได้แปลกแยกออกจากโลกประจักษ์

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

ผู้ชายบ้าของเล่น : เมื่อการ "เล่น" มิใช่แค่การเล่นกับ "ของเล่น"


เมื่อราวๆ กลางเดือนมิถุนายน 2557 มีนิทรรศการศิลปะเล็กๆ นิทรรศการหนึ่ง ถูกจัดขึ้นบนพื้นที่เล็กๆ บริเวณชั้น 2 ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ผมได้มีโอกาสไปชมนิทรรศการดังกล่าวซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ "เล่น" ของ "ผู้ชาย" ที่ถูกจัดการโดยภัณฑารักษ์ "ผู้หญิง"

หากเราเข้าใจว่าการ “เล่น” แฝงไว้ด้วยอารมณ์ของความรู้สึกที่มิได้เป็นจริงเป็นจัง เราพูดถึงการ “เล่น” ต่อเมื่อมันมิได้เป็นกิจธุระอันหนักหนาสาหัส แต่เมื่อการ “เล่น” เข้ามาอยู่ในพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะ ศิลปินผู้สร้างงานจึงทำให้การ “เล่น” มิได้เป็นการ “เล่น” แบบเข้าใจกันในโลกภายนอก หากแต่การ “เล่น” ในพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะกลับแฝงไว้ซึ่งนัยอันหลากหลายที่เรียกร้องให้ผู้ชมใช้พลังงานกับมันอย่างเป็นจริงเป็นจัง

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ค้านท์กับความเป็นมนุษย์ในจริยศาสตร์สมัยใหม่

บทนำ: ว่าด้วยความเป็น“สมัยใหม่” ในจริยศาสตร์

แนวความคิดทางจริยศาสตร์ของค้านท์ปรากฏอยู่ในงานหลายๆ ชิ้น หนึ่งในนั้นที่สำคัญ คือ Groundwork on Metaphysics of Morals ซึ่งความคิดที่สำคัญของค้านท์ เช่นจริยศาสตร์แนวหน้าที่นิยมยังคงมีอิทธิพลต่อความคิดทางจริยศาสตร์ของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน