วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มณเฑียร บุญมา : ภาพร่างโครงการที่ค้างคา และผลงานที่หาชมยาก


ภายใต้มโนทัศน์อันรางเลือนของศิลปะ การนิยามผลงานศิลปะจึงกลายเป็นเรื่องที่ดูจะไม่ชัดเจนนัก หลายครั้งเราไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรคือ “ผลงาน” ในขณะเดียวกัน บางสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวอาจกลายเป็น “ผลงาน” ศิลปะได้ด้วย เมื่อผลงานศิลปะมิได้ชี้หมายถึงวัตถุที่เป็นผลผลิตจากความคิดของศิลปินเพียงอย่างเดียว ภาพร่าง การวางแผน และหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังไม่เสร็จ ก็จึงอาจถูกพูดถึงในฐานะตัวผลงานได้ด้วยเช่นกัน

สำหรับผู้สนใจงานศิลปะ คงจะมีน้อยคนนักที่ไม่เคยได้ยินชื่อศิลปินผู้ล่วงลับคนนี้ มณเฑียร บุญมา ในขณะที่เขามีชีวิตอยู่ เขาเป็นศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ผลงานของเขาได้รับการพูดถึงในระดับนานาชาติ และเป็นศิลปินผู้ผ่านเวทีในระดับนานาชาติมาแล้วอย่างโชกโชน หลายคนยกย่องมณเฑียรว่าเป็นศิลปินผู้บุกเบิกการสร้างสรรค์งานศิลปะสื่อผสมและศิลปะจัดวางในยุคต้นๆ โดยใช้วัสดุ รูปแบบเนื้อหา ทั้งแบบไทยชนบทและพุทธปรัชญา และในฐานะอาจารย์สอนศิลปะ เขาก็ได้ทำหน้าที่เผยแพร่แนวความคิดใหม่ๆ ให้นักศึกษาและศิลปินรุ่นใหม่อีกมากมาย แม้จนถึงขณะนี้ที่มณเฑียรล่วงลับไปกว่า 10 ปีแล้ว ผลงานของเขาก็ยังคงถูกพูดถึงอยู่ตลอดเวลา

จิตรกรรมนามธรรม บทกวีรูปธรรม


เมื่อนัยของ “รูปธรรม” และ “นามธรรม” คือขั้วตรงข้ามที่แตกต่าง การดำรงอยู่ของสิ่งหนึ่งจึงสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของอีกสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ของศิลปะ การรับรู้สิ่งที่เป็น “รูปธรรม” และ “นามธรรม” จึงเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งอันน่าสนใจ

เมื่อ “รูปธรรม” และ “นามธรรม” คือสิ่งที่ตรงกันข้าม การรับรู้ “รูปธรรม” และ “นามธรรม” จึงกลายเป็นความแตกต่าง เมื่อ “รูปธรรม” เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตและรับรู้ได้จากประสาทสัมผัส หากแต่รูปธรรมอาจมิได้หมายถึงทุกสิ่งที่รับรู้ได้จากประสาทสัมผัส หากแต่เป็นสิ่งที่เรารับรู้และเข้าใจได้เลยจากประสาทสัมผัส ในผลงานจิตรกรรม รูปธรรมก็เป็นสิ่งที่รับรู้ได้จากการมองเห็น แต่นามธรรมกลับตรงกันข้าม เมื่อนามธรรมอาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้ผ่านประสาทสัมผัส แต่กระนั้นก็มิได้หมายความว่านามธรรมสภาพจะไม่มีอยู่ ซึ่งการรับรู้ “นามธรรม” เป็นการรับรู้และเข้าใจที่เกิดจากจิตใจ ความรู้สึก และระบบความคิดเสียมากกว่าการเข้าใจได้เลยจากประสาทสัมผัส

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ธรรมชาติของมนุษย์ในทัศนะของเมิ่งจื่อ




ถึงแม้เมิ่งจื่อจะเป็นนักปรัชญาฝ่ายที่ได้รับอิทธิพลจากขงจื่อ แต่ประการหนึ่งที่ทำให้เมิ่งจื่อต่างออกไปจากขงจื่อก็คือ ในขณะที่ขงจื่อให้ความสำคัญกับการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยการพยายามเสนอแนวทางว่ามนุษย์จะประพฤติดีได้อย่างไร แต่เมิ่งจื่อเข้ามาทำให้ความคิดของขงจื่อชัดขึ้นโดยการตอบคำถามว่าทำไมต้องประพฤติดี ซึ่งเมิ่งจื่อแสดงทัศนะว่าเพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่ดี

“ความคิด” ในทัศนะของเดส์การ์ต ล็อค และ เบิร์คเลย์




บทนำ

ปัญหาทางญาณวิทยากลายมาเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่ในความสนใจของนักปรัชญาสมัยใหม่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา การแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ทำให้บรรยากาศของยุคสมัยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (Modern) ซึ่งจากการแยกอาณาจักรออกจาก ศาสนจักรนั่นเอง ทำให้ชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแปลงจากเงื่อนไขที่ขึ้นอยู่กับศาสนามาเป็นเงื่อนไขที่ขึ้นอยู่กับตัวมนุษย์ โดยมนุษย์มีความสามารถที่จะกำหนดชีวิตตัวเองได้ นัยดังกล่าวทำให้ศูนย์กลางแห่งความรู้เปลี่ยนแปลงจากพระเจ้าในยุคกลางมาอยู่ที่ตัวมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์มีศักยภาพในการค้นพบความจริงได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพระเจ้า ศักยภาพในการเข้าถึงความจริงของมนุษย์ตามแนวคิดสมัยใหม่จึงเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานแห่งองค์ความรู้ของมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่การเกิดวิทยาการสมัยใหม่รวมถึงศาสตร์อย่างเช่น มนุษยศาสตร์ (Humanities) ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้ประเด็นทางปรัชญาเปลี่ยนแปลงจากการพยายามหาสารัตถะของโลกภายนอก (Natural Philosophy) มาเป็นการพยายามสร้างองค์ความรู้และคำอธิบายขึ้นมาใหม่ นักปรัชญาสมัยใหม่จึงสนใจประเด็นทางญาณวิทยาซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้และศักยภาพในการเข้าถึงความจริงของมนุษย์ ประเด็นเรื่อง “ความคิด” (Idea) จึงเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่นักปรัชญาสมัยใหม่พยายามอธิบายในฐานะที่สัมพันธ์กับแหล่งที่มาของความรู้ ในบทความนี้ ผู้เขียนจะแสดงให้เห็นถึงการอธิบาย “ความคิด” จากทัศนะของนักปรัชญา 3 คน คือ เรเน่ เดส์การ์ต (Rene Descartes) นักปรัชญาฝ่ายเหตุผลนิยม จอห์น ล็อค (John Locke) และ จอร์จ เบิร์คเลย์ (George Berkeley) นักปรัชญาฝ่ายประสบการณ์นิยม เรื่องของ “ความคิด” ในทัศนะของนักปรัชญาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือที่จะอธิบายกระบวนการรับรู้ของมนุษย์ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกภายนอก โดยในส่วนแรกจะเริ่มต้นจากทัศนะเรื่องความคิดที่มีมาแต่กำเนิดซึ่งถูกเริ่มต้นโดยเดส์การ์ตและข้อโต้แย้งต่างๆ ต่อความคิดที่มาแต่กำเนิด ข้อโต้แย้งดังกล่าวนำไปสู่วิธีการอธิบายเรื่องบทบาทของความคิดกับการเข้าถึงความจริงของมนุษย์และแหล่งที่มาของความรู้ของมนุษย์โดยสัมพันธ์กับโลกภายนอกในส่วนที่สอง ซึ่งวิธีการอธิบายและข้อโต้แย้งเรื่องความคิดจากนักปรัชญาทั้ง 3 คน จะทำให้เราเห็นภาพวิธีการอธิบายโลกที่แตกต่างกันระหว่างนักปรัชญาฝ่ายเหตุผลนิยมและฝ่ายประสบการณ์นิยมได้ชัดเจนขึ้น 

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รู้ หลับ กับ ศิลป์ “ประเด็นทัศนศิลป์”




ในประเทศที่งานศิลปะเป็นได้เพียงแค่ของเล่นของผู้มีอันจะกิน คงไม่ง่ายนักที่จะมีโอกาสได้อ่านข้อเขียนที่เกี่ยวกับศิลปะ และคงจะเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีกกับโอกาสในการผจญภัยเข้าสู่ดินแดนภายใต้มโนทัศน์ของศิลปะ

แม้งานศิลปะจะเป็นการสร้างสรรค์ แต่การสร้างสรรค์ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นโดยปราศจากบริบทอื่นๆ ทั้งโลก สังคม ศิลปะ และศิลปินได้ ความน่าพิศวงบางประการภายใต้มโนทัศน์ของศิลปะ ทำให้ศิลปะกลายเป็นเรื่องที่สั่งสอนกันไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถแบ่งปันประสบการณ์กันได้ นอกจากสถานะของนักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว อารยา ราษฎร์จำเริญสุข ก็ยังคงเป็นศิลปินแถวหน้าคนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ข้อเขียนของอารยามิใช่ตำราศิลปะ มิใช่งานวิชาการ ในขณะเดียวกันถึงแม้อารยาจะมีสถานะเป็นครู แต่ข้อเขียนของอารยาก็มิได้มุ่งหวังเพื่อสั่งสอนใคร

Graffiti กับข้อสังเกตบางประการ



เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดแสดงโชว์ Graffiti ภายใต้โครงการถนนศิลปะราชดำเนิน (Art Street @ Ratchadamnern) บริเวณหน้าศูนย์หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ในงานมีการแสดงพ่นสีบนรั้วสังกะสีจากศิลปินหลายคน โดยผลงานดังกล่าวจะถูกจัดแสดงจนถึงเดือนมกราคม

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการโฆษณาถึง “กราฟฟิตี้ (Graffiti)” ดูเหมือนภายใต้งานดังกล่าว กราฟฟิตี้กลายมาเป็นสิ่งที่อยู่ในการบริหารจัดการของรัฐ กราฟฟิตี้จึงมิใช่กราฟฟิตี้แบบเดิมๆ เสียแล้ว หากแต่กราฟฟิตี้ในความหมายของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอาจเป็นเพียงแค่ศิลปะแสดงสดหรือจิตรกรรมฝาผนังธรรมดาที่ถูกเขียนขึ้นบนกำแพงรั้วสังกะสีเช่นเดียวกับกราฟฟิตี้ แต่มิได้มีนัยหรือความหมายที่เหมือนกับกราฟฟิตี้

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไทย “เท่” ?


          
ปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน จัดแสดงงานนิทรรศการ “ไทยเท่ จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์” นิทรรศการดังกล่าวโฆษณาตัวเองว่าเป็นนิทรรศการศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9 อันมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะ องค์อัครศิลปิน โดยรวบรวมผลงานจากศิลปินกว่า 300 คนมาจัดแสดงร่วมกัน

แม้ประวัติศาสตร์ จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอดีต แต่ประวัติศาสตร์ก็มิใช่อดีตโดยแท้จริง นิทรรศการ “ไทยเท่” เลือกที่จะเล่าประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทยช่วงเวลากว่า 60 ปีในรัชกาลที่ 9 ผ่านการแสดงงานศิลปะตามแนวเรื่อง 9 เรื่อง (ซึ่งน่าจะเป็นการเน้นย้ำนัยของเลข 9 อย่างชัดเจน)  ได้แก่ การแสวงหาความเป็นไทย แรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา นามธรรมและปัจเจกนิยม พื้นที่ทางสังคมและการอุปถัมภ์ การต่อสู้ทางสังคมและการเมือง จินตนาการกับความเหนือจริง เพศสภาพและความเป็นชายขอบ ศิลปะทดลองและสื่อทางวัฒนธรรม และจากท้องถิ่นสู่อินเตอร์ โดยมี “เส้นเวลาหรือไทม์ไลน์ (Timeline)” อันแสดงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 6 จนถึงปัจจุบัน ติดไว้ที่กำแพงรอบทางเดินชั้น 3-5  และมีผลงานศิลปะจัดแสดงอยู่ในห้องนิทรรศการชั้น 7-9 (ยกเว้นงานชุดศิลปะทดลองและสื่อทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นงานชุดเดียวที่ถูกจัดแสดงในห้องนิทรรศการชั้น 4) แม้ว่าทีมภัณฑารักษ์ผู้จัดงานถึง 5 คนจะเลือกจัดแสดงงานตามแนวเรื่องโดยไม่ได้เรียงตามลำดับเวลา แต่อำนาจในการสร้างความหมายของภัณฑารักษ์ก็ทำให้การจัดลำดับก่อนหลังของหัวข้อเรื่องต่างๆ ตามเนื้อที่และสามัญสำนึกของผู้ชมที่ส่วนใหญ่จะชมงานโดยไล่ตั้งแต่ชั้น 7-9 มีแนวโน้มที่จะแสดงให้เห็นถึงภาพของประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลา โดยเริ่มตั้งแต่การแสวงหาความเป็นไทยที่ชั้น 7 ต่อด้วย การแสดงงานศิลปะตามแนวเรื่องในหัวข้อต่างๆ เรียงลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง “จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์” และ “เพศสภาพกับความเป็นชายขอบ” ในชั้น 9 ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นร่วมสมัย